เช็กลิสต์สร้างบ้านในเชียงใหม่อย่างไร ให้ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว

จริง ๆ แล้วพื้นที่เชียงใหม่และภาคเหนือสามารถพบเจอกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้เสมอ ใครที่วางแผนอยากสร้างบ้าน เช่าบ้าน หรือแม้กระทั่งซื้อซื้อบ้านมือสอง เชียงใหม่ จึงต้องรู้เทคนิคเพื่อทำให้บ้านของคุณแข็งแรงและปลอดภัยจากเหตุดังกล่าวมากที่สุด ลองมาเช็กลิสต์แล้วนำไปปรับใช้เพื่อความสบายใจของทุกคนในครอบครัว ทรัพย์สินไม่เสียหาย ปลอดภัยต่อชีวิต
ความเข้าใจเกี่ยวกับแผ่นดินไหวในเชียงใหม่
จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาปกติแล้วแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวจะแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่ บริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก ซึ่งพื้นที่ประเทศไทยแนวแผ่นดินไหวที่อยู่ใกล้มากสุดจะเป็นแนวในมหาสมุทรอินเดียสุมาตรา และ ประเทศพม่า แนวรอยเลื่อนต่าง ๆ (แนวรอยเลื่อนใกล้ไทยจะอยู่ในจีนตอนใต้ พม่า และลาว) รวมถึงการขุดบ่อน้ำมัน เขื่อน เหมือง นอกจากนี้รอยเลื่อนในไทยบางจุดที่มีพลังทำให้เกิดแผ่นดินไหวก็มีอยู่ด้วย เช่น
- รอยเลื่อนเชียงแสน เคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.9 ริคเตอร์ เมื่อปี พ.ศ. 2521
- รอยเลื่อนแพร่ เคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3-4 ริคเตอร์ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
- รอยเลื่อนแม่ทา เคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวเล็ก ๆ ช่วงปี พ.ศ. 2521
หรืออย่างเหตุการณ์ล่าสุดที่กรุงเทพฯ รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากรอยเลื่อนสกาในประเทศพม่า ทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ก็รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนและอาฟเตอร์ช็อคอย่างต่อเนื่อง
แต่ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่าในประเทศไทยของเราความเสียหายใหญ่จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวไม่ได้รุนแรงมากนัก (ยกเว้นเหตุการณ์ในกรุงเทพฯ ล่าสุด) การสร้างบ้านเชียงใหม่จึงไม่ใช่เรื่องน่ากังวลใจหากรู้เทคนิคที่ถูกต้อง
สร้างบ้านอย่างไรให้รองรับแผ่นดินไหวได้ดีขึ้น
1. หลักการออกแบบบ้านให้ต้านทานแผ่นดินไหว
- โครงสร้างที่แข็งแรงและยืดหยุ่น มีความต่อเนื่องทางกายภาพทั้งแนวราบและแนวดิ่ง รูปทรงสมมาตร
- การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม มีคุณภาพ แข็งแรงทนทาน
- การออกแบบฐานรากให้มั่นคง มีเสาชั้นล่างมากขึ้นหรือขยายหน้าตัดเสาให้ใหญ่ขึ้น เสริมเสาค้ำยันด้านข้างตามแนวทแยง
2. การเลือกวัสดุก่อสร้างที่ปลอดภัย
- คอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นวัสดุก่อสร้างที่มีความแข็งแกร่งสูงมาก รับแรงอัด แรงดึง และแรงกดได้ดี เพิ่มความมั่นคงให้กับงานโครงสร้าง อายุการใช้งานยาวนาน
- เหล็กกล้าและไม้ที่ผ่านการทดสอบความแข็งแรง วัสดุอีกประเภทที่มีความแข็งแรงทนทานไม่แพ้กัน สามารถนำมาทำเป็นโครงสร้างต่าง ๆ เพื่อยึดให้ตัวบ้านมั่นคง
- การใช้วัสดุเบาในส่วนที่อาจเกิดการถล่ม เช่น แผ่นยิปซั่ม ไม้อัดบาง ไม้เทียม แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ เพราะหากมีการถล่มจริงวัสดุเหล่านี้จะไม่สร้างอันตรายต่อโครงสร้างและผู้คนมากนัก
3. เทคนิคการก่อสร้างที่ช่วยลดผลกระทบจากแผ่นดินไหว
- การเชื่อมต่อระหว่างโครงสร้างให้แข็งแรงและยืดหยุ่น เช่น การเชื่อมต่อระหว่างเสา คาน และผนัง เพื่อให้โครงสร้างสามารถรับแรงสั่นสะเทือนเมื่อเกิดเหตุได้ ลดความเสี่ยงต่อการถล่ม
- การใช้เทคนิคหน่วงแรงสั่นสะเทือน (Seismic Dampers) มีการติดตั้ง Dampers หรืออุปกรณ์ดูดซับพลังงานภายในโครงสร้าง (อารมณ์เดียวกับโช้ครถยนต์ที่รับแรงสั่นสะเทือน) วิธีนี้จะลดแรงกระทำจากภายนอกโดยเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานความร้อน
- การออกแบบให้มีจุดศูนย์ถ่วงที่สมดุล รูปทรงอาคารมีความสมมาตรทุกด้าน ลดความเสี่ยงการเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
4. การตรวจสอบและบำรุงรักษาบ้านให้ปลอดภัย
- การตรวจสอบโครงสร้างเป็นระยะ หากมีรอยร้าว รอยแตก หรือสังเกตเห็นความผิดปกติอื่น ๆ ต้องรีบซ่อมแซมทันที
- วิธีซ่อมแซมรอยร้าวที่อาจเป็นอันตราย โดยเฉพาะรอยร้าวตามแนวดิ่ง แนะนำให้เคลื่อนย้ายของน้ำหนักมากออกจากบริเวณดังกล่าวพร้อมรีบปรึกษาวิศวกรหรือช่างที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อแก้ไขเร่งด่วน
- การเสริมความแข็งแรงให้กับบ้านเก่าที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับแผ่นดินไหว เช่น การใช้ไม้ค้ำยันด้านข้างของเสาบ้าน
การสร้างบ้านในเชียงใหม่ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลใจหากเกิดเหตุแผ่นดินไหว เพราะจากสถิติในอดีตไม่ได้สร้างความรุนแรงมากนัก แต่การรับมือเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยการสร้างบ้านที่แข็งแรงย่อมช่วยเพิ่มความสบายใจในทุกการอยู่อาศัยของทุกคนในครอบครัว วิธีดีที่สุดคือการเลือกปรึกษาวิศวกรที่มีความชำนาญ หรือเพื่อความสบายใจขั้นสุดการเลือกซื้อบ้านจากโครงการคุณภาพก็เป็นแนวทางที่น่าสนใจไม่แพ้กัน หรือถ้าใครสนใจโครงการบ้าน หางดง เชียงใหม่ ซึ่งเป็นบ้านที่แข็งแรงไม่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ก็ติดต่อ Rochalia ได้เลย